NIA

NIA สร้างเครือข่ายคนรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนนโยบายนวัตกรรม นำสู่การแก้ปัญหาของประเทศ

NIA เสนอนโนบายเชิงนวัตกรรม เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (เลขานุการ รมว.อว.) ได้รับมอบหมายจาก ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ในการกล่าวให้โอวาทพิธีปิด “หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรม สำหรับกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ภาครัฐเละเอกชน รุ่นที่ 2” (PPCIL#2) จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) 

เพื่อสร้างเครือข่ายนวัตกรรมภาครัฐ และภาคเอกชนในระดับนโยบายให้ร่วมกันรังสรรค์นวัตกรรมเชิงนโยบายที่สะท้อนการส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติ และสร้างศักยภาพผู้นำภาครัฐและภาคเอกชนในการขับเคลื่อนระบบนิเวศนวัตกรรมในรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือให้เป็นพื้นฐานในการพัฒนานโยบายนวัตกรรมที่จะสามารถนำไปสู่การปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผลในอนาคต ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ (รางน้ำ)

NIA

ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เลขานุการ รมว.อว. กล่าวว่า อว. มีบทบาทหน้าที่ผลักดันนโยบายนวัตกรรมที่เกิดจากการรวมตัวกันของเครือข่ายองค์กรที่สร้างสรรค์ผลผลิตที่เป็นนโยบายนวัตกรรมพร้อมผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาเชิงระบบ ตลอดจนสร้างให้มีนวัตกรรมต่อได้ในอนาคต ทั้งในมิติของความต่อเนื่องของนวัตกรรม และมิติของความสืบเนื่องของเครือข่ายความร่วมมือในการช่วยกันคิด วิเคราะห์ ทดลอง แบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ ความชำนาญ ตลอดจนมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนบทเรียนกันอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ผลสัมฤทธิ์ของการจัดอบรมดังกล่าว ก่อให้เกิดโครงการนโยบายนวัตกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนรู้ในหลักสูตรฯ ที่สามารถผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริง ซึ่งครอบคลุมทั้งนวัตกรรมทางระบบเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านพลังงาน นวัตกรรมทางสังคม หรือนวัตกรรมทางความคิด ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศมีทรัพยากรแต่ละด้านที่ต่างกัน แต่ทุกภาคส่วนก็ยังสามารถร่วมมือกันเพื่อพัฒนาต่อยอดนโยบายนวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้และพร้อมที่จะขับเคลื่อนกันต่อไป

NIA
NIA

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการฯ ว่า นับแต่เปิดโครงการหลักสูตรฯ ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นมา มีผู้นำภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสนใจเข้าร่วมหลักสูตร จำนวน 73 ราย โดยแบ่งออกเป็น ภาครัฐ จำนวน 25 ราย ภาคเอกชน จำนวน 26 ราย ภาคความมั่นคง 10 ราย ภาคการเมือง จำนวน 5 ราย และภาคสื่อสังคม จำนวน 4 ราย โดยผลสัมฤทธิ์ของการจัดอบรมดังกล่าว ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนผลักดันโครงการนโยบายนวัตกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนรู้ในหลักสูตรฯ จำนวน 5 โครงการ ที่ล้วนนำไปสู่การแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ของประเทศได้ด้วยข้อเสนอแบบนวัตกรรมเชิงนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางระบบเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านพลังงาน นวัตกรรมทางสังคม หรือนวัตกรรมทางความคิด พร้อม ๆ กับการสร้างศักยภาพบุคลากร สร้างศักยภาพผู้นำภาครัฐและเอกชนให้มีแนวความคิดที่เป็นนวัตกรรมควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของโครงการ

NIA
NIA

สำหรับข้อเสนอนโนบายเชิงนวัตกรรม จำนวน 5 นโยบาย ภายใต้หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรม สำหรับกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ภาครัฐเละเอกชน รุ่นที่ 2 (PPCIL#2) ได้แก่

1. เรื่อง R.U.Novation Project นำเสนอโดย : กลุ่ม Viking โครงการนวัตกรรมพัฒนาทักษะ (RUNovation Project) เป็นกำรเพิ่ม/เสริม/บ่มเพาะทักษะใหม่ (R.U.N. => Reskill + Upskill + New Skills) ที่ตอบโจทย์ทั้งพื้นที่และตลาดแรงงาน ทำให้สามารถดึงคนที่มีศักยภาพ (Talent) กลับมาพัฒนาพื้นที่ และส่งผลให้มีการจ้างงานที่ตอบโจทย์ทั้งคนและพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นกำรกระตุ้นเศรษฐกิจและนวัตกรรมพื้นที่ด้วย

2. เรื่อง Single Portal R&D Supporting Platform นำเสนอโดย : กลุ่ม Millennium Falcon ระบบบริการภาครัฐ ที่มีลักษณะเป็นศูนย์กลางการอำนวยความสะดวก การสนับสนุน การส่งเสริม การสร้างความร่วมมือ เพื่อกระตุ้นการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน เพื่อเสริมสร้างให้เกิดความพร้อมในการเป็นประเทศที่มีฐานเศรษฐกิจจากการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม

3. เรื่อง ประเทศไทยสู่กำรเป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืนแห่งเอเชีย นำเสนอโดย : กลุ่ม Chang’e ด้วยการส่งเสริม สนับสนุนให้มีการใช้งานในทุกระดับ ผลักดันการสร้างนวัตกรรมด้านพลังงาน เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและจัดเก็บ ตลอดจนพัฒนาระบบการบริหารจัดการพลังงงานอย่างมีส่วนร่วมและมีประสิทธิภาพ เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนด้านพลังงาน

4. เรื่อง Thai DNA : COP DNA episode นำเสนอโดย : กลุ่ม Voyager Thai DNA: COP DNA episode – การถอดรหัสพันธุกรรม เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดสรรบุคลากรให้เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละฟันเฟืองขององค์กร ที่สามารถชี้วัดได้ในทุก ๆ มิติอย่างโปร่งใส ยุติธรรม ในเวอร์ชันภาคข้าราชการตำรวจ เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลไปในภาคส่วนต่าง ๆ ในอนาคต

5. เรื่อง INNOVATIVE DATA HEALTH TECH นำเสนอโดย : กลุ่ม Apollo การสร้างระบบการเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพส่วนบุคคลจากสถานพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นในกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อช่วยลดกระบวนการการรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา รวมถึงการส่งเสริมนโยบายด้านสาธารณสุข ภายใต้มาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพระดับสากล พร้อมทั้งการรักษาความปลอดภัยข้อมูลด้านสุขภาพส่วนบุคคล

ที่มา www.mhesi.go.th

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/ReinventingUniversity/?_rdc=1&_rdr